• Breaking News

    เวบบล็อกบันทึกชีวิตธรรมดาของผู้หญิงธรรมดา มิมีสาระ แค่บ้า ๆ บ่น ๆ

    ค้นหา

    11 ธ.ค. 2559

    โรคตายพรายในกล้วยน้ำว้า

    กลุ้มใจอย่างหนัก  เมื่อเจอปัญหากับต้นกล้วยน้ำว้าที่ปลูกในสวน  เริ่มมีอาการใบเหี่ยวเหลือง   หักพับลงมา  โดยค่อยๆ ทยอย  เหี่ยวเหลืองมาเรื่อย ๆ  เข้าไปค้นหาข้อมูล  พบว่า  อาจเป็นโรคตายพราย  ซึ่งอาการของโรคตายพราย  จะมีอาการ สีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ  นอกจากนั้น ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน หากเกิดใน กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากเราตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง    วิธีที่เค้าแนะนำ  คือให้ตัดกล้วยทิ้งไป   คิดมาแล้วนึกเสียดาย  เลยลองใช้   เชื้อราไตรโครเดอร์มา   ตามคำนักวิชาการแนะนำให้ใช้ รดที่หลุมก่อนลงปลูก  แต่ในกรณีของอิฉันนี้  ปลูกไปแล้ว  แต่มีอาการโรคตายพราย  เลยเสี่ยง ใช้  ละลายเชื้อราไตรโครเดอร์มารด ที่โคนต้น 

    โรคตายพราย

    สังเกตว่ารด 2-3  วัน รดครั้งหนึ่ง  และตัดใบที่เหลือง ๆ ออกไปเสียบ้าง    นอกจากนั้นยังลองใช้วิธีโบราณ ที่คนแก่แนะนำ คือ เอาขี้เถ้าไปโรยรอบโคนต้น  ผ่านมาประมาณเดือนหนึ่ง  อาการใบเหลืองของต้นกล้วยลดลง  มีการแตกใบใหม่ เขียวสด   ไม่มีอาการใบเหลืองหรือเป็นสีน้ำตาลให้เห็น   แต่ก็ต้องรอดูผลต่อไป   จะรักษาชีวิตต้นกล้วยไว้ได้หรือไม่ จากการทดลองเชื้อราไตรโครเดอร์มานี้

    ต้นกล้วย

    เชื้อราไตรโครเดอร์มามีหลายแบบ   เลยสั่งซื้อไปแบบผงซึ่งสามารถนำมาขยายเชื้อเองได้  ง่ายทีเดียว

    เขื้อราไตรโครเดอร์มา

    สามารสั่งซื้อหัวเชื้อราไตรโครเดอร์มามาทดลองใช้แก้ปัญหาโรคตายพรายได้ที่  เชื่อราไตรโครเดอร์มา

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

    บทความคอมพิวเตอร์

    Fashion

    Popular

    Beauty

    Recent Post

    Travel