เสียงท่องบทอาขยาย “วิชาเหมือนสินค้า” ดังเจื้อยแจ้ว จากนักเรียนห้องข้าง ๆ แว่วเข้ามา เรายังจำบทอาขยานนี้ได้แม่่น เพราะเคยท่องทุกเย็นก่อนกลับบ้านตอนอยู่ชั้นประถม เสียงใส ๆ และบทอาขยายที่ไพเราะ ทำให้เราเผลอทำเสียงฮึมฮำทำจังหวะตามไปด้วย
นักวิชาการรุ่นใหม่ ต่างลงความเห็นว่า ไม่ควรสอนเด็กให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ เพราะนั่นทำให้สมองขาดการพัฒนาด้านกระบวนการคิด ควรจัดการเรียนการสอนโดยให้เด็ก ๆ ได้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ วิธีการพัฒนาสมองดังกล่าว มีหลากหลายทฤษฏีที่แตกต่าง แล้วแต่ช่วงของนักวิชาการคนดัง มีความสามารถและถนัดเรื่องอะไร บรรดาครูผู้จำเป็นต้องนำหลักการดังกล่าวมาใช้ ก็ต้องทนนั่งฟัง เห็นด้วย และรับมาปฏิบัติ โดยห้ามมีข้อกังขา เหตุผลคือ มันเป็นงานวิจัยที่ผ่านการรับรองจากต่างประเทศมาแล้ว แต่ไม่ได้ผ่านการนำมาใช้จริงในระบบโรงเรียนโดยทั่วไปของไทย แต่ทว่าต่อให้เปลี่ยนหลักสูตร เปลี่ยนหลักการ เปลี่ยนนโยบายมากี่สิบรอบ ครูไทยซะอย่าง ทำได้อยู่แล้ว
แม่พิมพ์เบี้ยว ๆ อย่างเรา ค้านงานวิจัยนี้โดยสิ้นเชิง มันเป็นทฤษฏีที่เหยียบถมความคิดของคนโบราณ นั่นแสดงว่าคนไทยแต่ก่อนเก่า ที่สอนด้วยการท่องจำแบบนี้ โง่งมหรืออย่างไรกัน เหตุเพราะ บทอาขยานหลาย ๆ บท ศัพท์ภาษาอังกฤษ ความรู้ทุก ๆ วิชาที่เคยเดินท่องจำก่อนสอบประมวลผล แม้แต่บทสวดมนต์ทุกบทที่เคยท่องบ่น ถูกประมวลผลเป็นแหล่งขุมทรัพย์แห่งความรู้และความดี ได้ถูกดึงเอามาใช้ได้ทันท่วงทีในสถานการณ์จำเป็นหลาย ๆ ครั้งในชีวิต ดังนั้น ต่อให้มีกระบวนการคิดฉลาดหลักแหลมสักปานใด หากไม่มีพื้นความรู้เดิมไม่มีข้อมูลซึ่งเป็นทรัพยากร ที่เป็นพื้นฐานให้นำมาพัฒนากระบวนการคิด พร้อมทั้งเป็นส่วนที่ต่อยอด ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เด็กไทยก็ยังคงสอบ O-net ได้ต่ำทุกปีหล่ะน๊า หรือคุณคิดอย่างไรกัน ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น